มลภาวะทางอากาศกลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน โดยมีการรายงานว่าประเทศไทยมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในอากาศ หรือที่เรารู้จักในนาม PM 2.5 สูงติดอันดับต้น ๆ ของโลกกันเลย ส่วนนี้จึงเป็นที่น่ากังวลใจถึงผลกระทบที่จะมีต่อผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีค่าของฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินกว่ากำหนด สำหรับในบทความนี้เราก็ขอพาทุกท่านไปพบกับอีกหนึ่งผลกระทบของ PM 2.5 ที่มีต่อ ขนาดของเทโลเมียร์
ฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM คืออะไร?
ก่อนอื่นเราต้องขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับคำว่า PM หรือในชื่อเต็มว่า Particulate Matter หรือในภาษาไทยที่เราคุ้นหูกันอย่างดีโดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมากับคำว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งหลาย ๆ ท่านคงมีข้อสงสัยเกิดขึ้นว่าคำว่าขนาดเล็กนั้นต้องเล็กขนาดไหน หรือ เราสามารถวัดขนาดของฝุ่นที่เล็กมาก ๆ ขนาดนั้นได้ด้วยหรือ ในส่วนนี้มีการวัดขนาดของฝุ่นละอองในอากาศได้จากเครื่องมือพิเศษ โดยเป็นการรายงานผลออกมาในระดับของไมครอน หรือ Micron ซึ่งไมครอนมีขนาดที่เล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในส่วนของการเปรียบเทียบของหน่วยไมครอนนี้จะเท่ากับ 1 ใน 1 ล้านของหน่วยเมตร หรือ 1 ใน 1 พันของหน่วยมิลลิเมตร หรือ 1 ในสองหมื่นห้าพันของหน่วยนิ้ว และในส่วนที่เราเรียกว่า PM หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ต้องมีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนเท่านั้น
ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีอะไรปะปนอยู่บ้าง?
ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีองค์ประกอบทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและส่วนที่เป็นของเหลวลอยปะปนหรือแขวนลอยอยู่ในตัวกลางที่เป็นอากาศ โดยส่วนของของแข็งก็มีทั้งโลหะหนักอย่างแคดเมียม สังกะสี ทองแดง ในส่วนที่เป็นของเหลวก็มีทั้งสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือซัลเฟต ไนเตรท แอมโมเนีย นอกจากนี้ในปัจจุบันก็มีการตรวจพบส่วนของสารก่อภูมิแพ้และเชื้อโรคปะปนอยู่ในฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วย
PM 2.5 ภัยร้ายสร้างมลพิษทางอากาศ?
ส่วนของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในปัจจุบันก็คือฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ทำให้อากาศมีสีแบบโฟเบีย ส่วน PM 2.5 ก็คือฝุ่นละอองขนาดเล็กซึ่งมีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพหรือสามารถจินตนาการได้ ฝุ่นละออง PM 2.5 นี้เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนซึ่งเป็นขนาดที่เล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมประมาณ 28 เท่า จึงนับว่ามีขนาดเล็กจนสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทั้งทางผิวหนังและทางระบบหายใจได้ง่ายมาก
ทำไม PM จึงเพิ่งเกิดในยุคนี้?
ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องนั้นต้องบอกว่าฝุ่น PM 2.5 นั้นเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ปะปนอยู่ในอากาศมานานแล้ว โดยฝุ่น PM 2.5 นี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศหรือช่วงที่มีการผลัดเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งประเทศไทยเองนั้นจะได้รับอิทธิพลของความกดอากาศสูงมาจากประเทศจีน ทำให้อากาศมีความหนาแน่นมาก การสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 ในอากาศจึงมีการสะสมมากตามไปด้วย และยิ่งในปัจจุบันที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ของคนเรามาเพิ่มปริมาณ PM 2.5 ไม่ว่าจะเป็น PM 2.5 ที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดความหนาแน่นของ PM 2.5 เพิ่มมากขึ้นทั้งควันจากการปล่อยของเสียจากโรงงาน หรือ ควันที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งอย่างรถบรรทุก ในส่วนของภาคการเกษตรก็มีส่วนทำให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 เพิ่มมากขึ้นได้อย่างการเผาไร่ การเผาสวนเพื่อเริ่มต้นการปลูกพืชในฤดูกาลถัดไป หรือการเผาป่าเพื่อเข้าไปหาของป่า หรือที่เกิดจากการดำเนินชีวิตอย่างควันจากการขับขี่ยานพาหนะ หรือ จะเป็นควันจากการประกอบอาหาร หรือ ควันจากการจุดธูปจุดเทียน หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ ในส่วนของก็มีส่วนสร้าง PM 2.5 ด้วยกันทั้งสิ้น
ฝุ่นประเภทนี้ อันตรายอย่างไร?
อย่างที่เราทราบกันไปแล้วจากหัวข้อก่อนหน้าว่า PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากจึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบหายใจโดยมีอันตรายเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่กันเลย นอกจากนี้ก็ทำให้เกิดการระคายเคืองดวงตาโดยเฉพาะส่วนของแก้วตาได้อีกด้วย ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น PM 2.5 ก็ยังมีอันตรายลึกลงไปสู่ส่วนของระดับเซลล์อย่างโครโมโซม หรือ ส่วนของปลายโครโมโซมอย่างเทโลเมียร์กันเลย
PM 2.5 กับ ขนาดของเทโลเมียร์
เทโลเมียร์ หรือ Telomere เป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมในร่างกายของคนเรา โดยเทโลเมียร์เป็นส่วนที่อยู่บริเวณปลายสุดของโครโมโซม มีลักษณะคล้ายปาท่องโก๋ ส่วนเทโลเมียร์นี้จะเป็นปลายของปาท่องโก๋ทั้ง 4 ข้าง เทโลเมียร์ของเราจะมีการสั้นลงตามอายุ หรือ ตามการแบ่งเซลล์ของร่างกาย เพียงแค่เราเกิดมาแล้วมีการเจริญเติบโตเทโลเมียร์ก็จะหดสั้นลง ยิ่งในช่วงอายุ 20-30 ปี ก็จะเป็นช่วงที่เทโลเมียร์เกิดการสั้นลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทโลเมียร์สั้นร่างกายก็จะแสดงความแก่ออกมา ซึ่งเป็นความแก่ในระดับเซลล์ และเมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับ PM 2.5 ร่างกายของเราก็จะเกิดการเสื่อมจากสารออกซิเดชั่นหรืออนุมูลอิสระต่าง ๆ ร่างกายของเราจะต้านอนุมูลอิสระด้วยการซ่อมแซมเซลล์ที่ได้รับผลกระทบจากสารดังกล่าว เมื่อร่างกายซ่อมแซมตนเอง ในระดับเซลล์ก็จะมีการแบ่งตัวในส่วนนี้เองที่ทำให้เทโลเมียร์สั้นลง และยิ่งเราเผชิญกับ PM 2.5 มากเท่าไร ร่างกายก็จำเป็นต้องซ่อมแซมตัวเองมากเท่านั้น เทโลเมียร์ก็จะยิ่งสั้นลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้เซลล์ของร่างกายแก่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
การดูแลสุขภาพของเทโลเมียร์เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ PM 2.5
PM 2.5 มีอันตรายต่อเทโลเมียร์เป็นอย่างมากและเพื่อเป็นการชะลอการหดสั้นลงของเทโลเมียร์เรามีวิธีการแนะนำ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณกลางแจ้งที่มีปริมาณ PM 2.5 เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงหรือปัจจัยที่ทำให้เทโลเมียร์หดสั้นลง
- หากต้องอยู่กลางแจ้งหรือต้องเดินทางควรสวมใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างหน้ากาก N95
- หลีกเลี่ยงการโดยสารรถส่วนตัวแล้วเปลี่ยนมาโดยสารรถพลังงานสะอาดอย่างรถเมล์ไฟฟ้าเพื่อลดการปล่อย PM 2.5 จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงของรถโดยสาร
- รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมองค์ประกอบของร่างกายโดยเฉพาะเทโลเมียร์
- พักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
- ลดกิจกรรมภายในครัวเรือนหรือกิจกรรมส่วนตัวที่ทำให้เกิด PM 2.5 แล้วนำไปสู่การสั้นลงของเทโลเมียร์ โดยกิจกรรมเหล่านี้ เช่น การปิ้งย่างหน้าเตาที่ทำให้เกิดเขม่าควันไฟ การเผาขยะในบริเวณบ้าน หรือแม้แต่การจุดธูปเทียนที่มีเขม่าควันเกิดขึ้น
จากบทความข้างต้นเราจะพบว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มีผลอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความอันตรายในระดับเซลล์ ที่เราเน้นย้ำในบทความนี้กันเลยก็คือส่วนของเทโลเมียร์ซึ่งเป็นบริเวณที่สามารถบ่งบอกอายุจริงของร่างกายของคนเราได้ เมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ เราก็ควรส่งเสริมและบำรุงร่างกายของเราลงลึกไปถึงการบำรุงร่างกายในส่วนของเทโลเมียร์ด้วยเพื่อให้ทุกอวัยวะได้รับการซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลาส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงตลอดไปไม่เสื่อมถอยไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น