การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการให้เกิดกับตนเองรวมถึงคนที่ตนเองรัก แต่โรคภัยไข้เจ็บบางโรคก็ไม่สามารถหาสาเหตุหรือแนวทางรักษาและป้องกันได้ ปัจจุบันองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ทำให้เราทราบถึงสาเหตุของโรค รวมถึงแนวทางรักษาและป้องกันของโรคได้เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในองค์ความรู้ที่จะมาช่วยไขข้อสงสัยดังกล่าวได้คือความรู้เกี่ยวกับ “เทโลเมียร์” โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่ว่าเทโลเมียร์ที่สั้นลงนั้นก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้อย่างไร
เทโลเมียร์กับองค์ความรู้ในระดับนานาชาติ
เทโลเมียร์จัดเป็นองค์ความรู้ในระดับนานาชาติจากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน เอลิซาเบธ แบลกเบิร์น จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก แครอล ไกรเดอร์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ และแจ็ค โซสตาค จากสถาบันการแพทย์โอเวิร์ด ฮิวจ์ส ได้ค้นพบกลไกชะลอวัยเกี่ยวกับเทโลเมียร์และเอนไซม์เทโลเมอเรสที่ช่วยปกป้องโครโมโซม รวมถึงยังป้องกันความชราของร่างกายมนุษย์ที่ระดับโครโมโซม และด้วยการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ เป็นคุณูปการต่อแวดวงการแพทย์และวิทยาศาตร์อย่างมาก ทำให้ทั้ง 3 ท่านได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ.2009
เทโลเมียร์คืออะไร
ร่างกายมนุษย์จะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ โดยแต่ละอวัยวะก็จะมีหน่วยย่อยลงไปอีกซึ่งก็คือส่วนของเซลล์ (Cell) ในเซลล์นี้ก็จะมีองค์ประกอบสำคัญที่เรียกว่านิวเคลียส (Nucleus) เป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อเซลล์เป็นอย่างมาก ในนิวเคลียสนี้เองที่มีโครโมโซม (Chromosome) โดยในแต่ละนิวเคลียสจะมีโครโมโซมอยู่ มีลักษณะคล้ายปาท่องโก๋ 23 คู่ ในโครโมโซมเป็นที่เก็บหน่วยพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ โครโมโซมจึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี ส่วนปลายของโครโมโซมนี้จึงมีดีเอ็นเอที่อัดแน่นกันเป็นพิเศษทำหน้าที่เหมือนหมวกครอบปลายโครโมโซมไว้มีชื่อเฉพาะว่า เทโลเมียร์ (Telomere) นั่นเอง
ธรรมชาติของเทโลเมียร์
เทโลเมียร์ของคนเรานั้นจะมีความยาวมากที่สุดในช่วงแรกเกิด โดยมีความยาวเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 Base Pairs และเมื่อร่างกายมีการแบ่งเซลล์เติบโตเทโลเมียร์ก็จะสั้นลงเรื่อย ๆ ในช่วงวัยรุ่นนั้นเทโลเมียร์จะมีความยาวเหลือ 10,000 Base Pairs จากนั้นเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ เราก็จะมีเทโลเมียร์เหลือ 7,000 Base Pairs และเมื่อถึงวัยชราเราจะมีเทโลเมียร์เหลือเพียง 4,000 Base Pairs เท่านั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าเมื่อเทโลเมียร์สั้นลงการสร้างเซลล์ก็จะลดลง ทำให้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆก็จะเกิดได้น้อยได้ช้าซึ่งนำไปสู่กระบวนการชราภาพนั่นเอง
ปัจจัยที่ทำให้เทโลเมียร์สั้นลง
1. กรรมพันธุ์ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้บุคคลนั้นมีเทโลเมียร์สั้นกว่าคนอื่น และพบว่าเมื่ออายุประมาณ 42 ปีก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งสูงได้มาก
2. อายุ เป็นปัจจัยตามธรรมชาติที่ทำให้เกิดการสั้นลงของเทโลเมียร์ โดยอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เทโลเมียร์สั้นลงตามไปด้วย
3. เพศ เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ความยาวเทโลเมียร์แตกต่างกัน เพศหญิงจะมีเทโลเมียร์ยาวกว่าเพศชายในวัยเดียวกัน
4. การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเป็นเวลานาน
5. การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Alcohol เป็นประจำและติดต่อกันเป็นเวลานาน
6. พฤติกรรมการสูบบุหรี่
7. ภาวะของโรคบางชนิดโดยเฉพาะโรคในกลุ่ม NCDs อาทิเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน
8. ภาวะที่ร่างกายเกิดการติดเชื้อ
9 .การที่ร่างกายต้องเผชิญหน้ากับสารพิษหรือมลภาวะ
10. การบริโภคอาหารแปรรูปในปริมาณสูง
11. ภาวะความเครียดที่เกิดจากสภาวะของจิตใจ
เทโลเมียร์สั้นเป็นสาเหตุของโรคและก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
โรคที่เกิดจากการมีเทโลเมียร์ที่สั้นลง รวมไปถึงผลเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคนเรา มีดังนี้
1. การที่เทโลเมียร์สั้นลงนั้นทำให้เกิดภาวะความแก่ชราซึ่งก็จะนำมาสู่ความเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นระบบประสาทและสมองที่นำไปสู่โรคทางสมองอย่างอัลไซเมอร์ หรือ โรคความชราที่ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้เทโลเมียร์ที่สั้นลงก็จะแสดงออกทางผิวพรรณอย่างเช่นความเหี่ยวย่น หรือ ริ้วรอยที่ปรากฎตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะใบหน้าให้เห็นอย่างชัดเจน
2. เทโลเมียร์ที่สั้นลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองให้กลับมาเป็นปกติได้ดีเท่าที่ควร รวมถึงทำให้อัตราการซ่อมแซมตัวเองของร่างกายลดลง ผลงานวิจัยทางการแพทย์จากวารสาร European Society of Medical Oncology สรุปได้ว่า ผู้ที่รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งจะมีส่วนของเทโลเมียร์ที่สั้นลงกว่าคนปกติที่อยู่ในวัยเดียวกัน ทั้งนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากผลพวงของการทำเคมีบำบัด หรือ การฉายรังสี
3. เทโลเมียร์สั้นลงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงและทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบเผาผลาญ อาทิ เช่น โรคตับแข็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และ เมตาบอลิกซินโดรม
4. โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อ มีงานวิจัยสนับสนุนว่าเกิดมาจากการที่เทโลเมียร์สั้นลงอีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอะโครเมกาลี (Acromegaly) โรคในกลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome) หรือ โรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้หญิงที่มักมีอาการมาประจำเดือนผิดปกติ
5. เทโลเมียร์สั้นลงเร็วก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงแข็ง หรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ
6. โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากเมื่อเทโลเมียร์สั้นลงอัตราการฟื้นตัวหลังจากร่างกายได้รับบาดเจ็บ หรือ อัตราการซ่อมแซมตนเองของร่างกายที่น้อยลงก็ทำให้การป้องกันและฟื้นฟูร่างกายหรือระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง ก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันนั่นเอง
7. โรคทางจิตเวช ก็มีความสัมพันธ์กับเทโลเมียร์ที่สั้นลง
จากบทความข้างต้นเราจะพบได้ว่าการสั้นลงของเทโลเมียร์จะนำมาซึ่งความแก่ชราและสาเหตุของโรคภัยต่าง ๆ แต่เราจะสามารถชะลอและเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ให้กลับมาย้อนวัยได้ด้วยนวัตกรรม “วัฒนชีวา” สารสกัดจากพืช 5 ชนิด คือ สารสกัดมังคุด สารสกัดใบบัวบก สารสกัดงาดำ สารสกัดถั่วเหลือง และสารสกัดจากฝรั่งที่จะมาช่วยร่างกายของเราให้ เทโลเมียร์มีความยาวขึ้น นั่นหมายความว่า สามารถย้อนวัยและเสริมสร้างให้ร่างกายของเรากลับมาแข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้นั่นเอง